วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2563

🌼สรุปวิจัยวิทยาศาสตร์🌼


สรุปวิจัยวิทยาศาสตร์


เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน

ปริญญานิพนธ์

ของ

ศศิพรรณ สำแดงเดช



💜💜คลิ๊กเพื่อดูงานวิจัย💜💜


        การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด กิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชาย - หญิง อายุ 5 – 6 ปี จํานวน 15 คน ที่ กําลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล) สํานักงานเขตจอมทอง กรุงเทพมหานครซึ่งได้มา จากการเลือกแบบหลายขั้นตอน เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที

                ความมุ่งหมายของการวิจัย

 
        1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร ์ ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม การทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง 
        2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ การจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง

                ความสําคัญของการวิจัย 


        ผลของการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้จะเป็นแนวทางให้กับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ปฐมวัยได้ตระหนัก และเข้าใจถึงความสําคัญในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวทยาศาสตร์ ให้กับเด็กปฐมวัยด้วยการทำกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน รวมทั้งเปนแนวทางในการทำกิจกรรมการ ทดลองหลังการฟังนิทานให้มีความหมายและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย

                ขอบเขตของการวิจัย


ประชากรที่ใช้ในการวิจัย


        กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปีที่กําลัง ศึกษาอยในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรยนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล) สํานักงานเขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานครจํานวน 5 ห้องเรียน จํานวน 175 คน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย


        กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กําลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล) สํานักงานเขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานคร จํานวน 30 คน โดยผู้วิจัยทําการทดสอบเด็กด้วย แบบทดสอบทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เพื่อคัดเลือกเด็กปฐมวัยจำนวน 15 คน ที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 15 อันดับสุดท้าย กําหนดเป็นกลุ่มทดลอง

ตัวแปรที่ศึกษา


1. ตัวแปรต้น ได้แก่ การได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน 
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

 

1. แผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน 
2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

วิธีการดําเนนการทดลอง


        1. ผู้วิจัยใช้คะแนนการทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยในขั้นตอนการเลือกตัวอย่างเป็นคะแนนก่อนการทดลอง 
         2. ผู้วิจัยดําเนินการทดลองด้วยตนเองโดยทดลองสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที ในช่วงเวลา 08.30 – 09.00 น. ของวันจันทร์วันอังคาร วันพุธ จนสิ้นสุดการทดลอง โดยระหว่างที่ ผู้วิจัยดําเนินการทดลองกับเด็กกลุ่มตัวอย่างเด็กที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างอยู่ในความดูแลของครูผู้ช่วยสอน
        3. เมื่อดําเนินการทดลองไปจนครบ 8 สัปดาห์ผู้วิจัยทําการทดสอบหลังการทดลองกับเด็กกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ชุดเดียวกับก่อนการทดลอง 
        4. นําข้อมูลที่ได้จากการทดสอบไปทําการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ

               สรุปผลการวิจัย


        1 เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานมีทักษะพื้นฐานทาง วิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสําคัญที่ .01 และพบว่าทักษะด้านการสังเกต การจําแนก และการสื่อสารสูงกว่า ก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญที่ .01 
         2 ก่อนการทดลองการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน โดยรวมและรายด้านคือ ด้าน การสังเกต ด้านการจําแนก และด้านการสื่อสาร อยู่ในระดับพอใช้หลังการจัดกิจกรรมหลังการฟังนิทาน โดยรวมอยู่ในระดับดีและรายด้านคือ ด้านการสังเกตอยู่ในระดับดีมาก ด้านการจําแนกและการสอสารอยู่ ในระดับดี

EAED3207 Science Experiences Management for Early Childhood ...EAED3207 Science Experiences Management for Early Childhood ...


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น